Activity

เรียน couse: การเริ่มดําเนินธุรกิจ (Launching New Business)

"หลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการและการพัฒนาธุรกิจใหม่ Entrepreneurship and New Business Development"

Module 8: การเริ่มดําเนินธุรกิจ (LAUNCHING NEW BUSINESS)

สอนโดย ดร.ตรียุทธ พรหมศิริ ประธานสาขาผู้ประกอบการและนวัตกรรมวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลการดำเนินงาน
6 สิ่งที่ควรจำไว้ก่อนเริ่มสร้างธุรกิจ
1. Go beyond business plan - คิดมากกว่าที่วางแผนธุรกิจไว้
เพราะไม่มีทางที่ทุกอย่างจะเป็นไปตามแผนที่วางไว้จำเป็นที่จะต้องคิดไว้มากกว่าวางแผนไว้
- ควรมีแผนดีกว่าไม่มีแผน ทั้งแผนการตลาด/การเงิน/การจัดการ
- พร้อมที่จะปรับเปลี่ยน ปรับปรุงแผนเสมอ
- ช่วงแรกให้พยายามที่จะทำตามแผน และขยันให้มากกว่าแผน เช่น มีการวางแผนการตลาดเป็นอย่างดีแต่
ปล่อยสินค้าแล้วลูกค้าไม่ชอบ ก็ควรที่จะปรับเปลี่ยนแผนตามโอกาสที่ได้รับ

2. ทดลองว่าIdea Work/ไม่Work ให้เร็วที่สุด
โดยการทดลอง Idea เราสามารถทำได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
- Mock-up แบบจำลองการใช้งานอย่างง่าย เพื่อนำไปทดสอบการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องลงทุนเยอะแต่สามารถTest Concept ที่วางไว้ได้
- Prototype สร้างแบบจำลองเสมืองจริง ที่สามารถทนทานต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมจริง โดยไม่จำเป็นต้องลงมุนผลิตของจริงมาก่อน
- Minimum viable product (MVP) การสร้างของที่มี Function น้อยที่สุด แต่สามารถนำไป Test ได้ว่าเป็นของที่เหมาะสมกับตลาด ส่งมอบของที่น้อยแต่เพียงพอกับการเริ่มต้น ช่วยให้สามารถลด Inventory สามารถนำสินค้าเข้าสู่ตลาดโดยไม่แบกต้นทุนมากเกินไป

3. Understand the market - เข้าใจลูกค้าของตนเอง
- ต้องมีเวลาอยู่กับกิจการและขายของด้วยตัวเอง
- มี Insight ที่เข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ถ้าเข้าใจจะสามารถสร้างคุณค่า ส่งต่อโปรโมชั่นหรือผลิตภัณฑ์ที่โดนใจลูกค้าได้มาก

4. Know your future customer – กิจการที่เติบโตจะสามารถคาดเดาความต้องการของลูกค้าในอนาคตได้ และทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้สม่ำเสมอ
- เข้าใจถึงพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป ปรับปรุงและพัฒนาให้ตอบโจทย์กับพฤติกรรม
- อะไรคือ Trend ที่กำลังจะมา โดยข้อมูลมักมาจากลูกค้า/พนักงาน เพื่อสามารถ Launch ธุรกิจที่สดใหม่เสมอ
- มีความ Agility ที่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามโอกาสได้อย่างรวดเร็ว สายตามองไปอนาคตเสมอ

5. Cash is King.
เงินสดที่เริ่มต้นธุรกิจจะแบ่งเป็น 2 ส่วน
- เงินลงทุนตั้งต้นกิจการ (Capital investment) เป็นเงินที่ลงทุนแล้วลงทุนเลย สำคัญมากๆ
- เงินลงทุนสำรองในการทำกิจการจะแบ่งเป็น 2 ส่วน
• Fixed cost ต้นทุนคงที่ มักจะเป็นเงินที่ต้องจ่ายประจำทุกๆเดือนแม้จะขายได้มากหรือน้อย เช่น ค่าเช่า ค่าจ้างพนักงาน ฯลฯ
• Variable cost ต้นทุนที่ผันตามการขายสินค้า เช่น ต้นทุนในการผลิตสินค้า
ถ้าเงินในการทำธุรกิจตึงไปจะไม่สามารถขยายร้านหรือลงทุนเพิ่มได้หรือการที่ขี้เหนียวกับการสร้างธุรกิจเกินไปก็ไม่เป็นผลดีต้องสร้างธุรกิจที่บริหารเงินสดได้ดีการ Burn cashไปเรื่อยๆ อาจนำไปสู่การล้มละลาย

6. Business structure ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ที่จะต้องแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน อย่าปนกัน เพราะจะทำให้การบริหารนั้นยากมาก
- ผู้ถือหุ้น
• ใครถือหุ้นบ้าง สัดส่วนเท่าไหร่ เป็นหุ้นเงินหรือหุ้นแรง
• หุ้นเฉพาะเงิน (Silent shareholder) จะได้เป็นเงินปันผลหรือเงินจากการขายหุ้น
- กรรมการบริหาร (MD)
• จะมีอำนาจผูกพันกับบริษัท ให้ระบุตั้งแต่แรกเริ่มว่าจะมีอำนาจในการเซ็นค่าใช้จ่ายได้กี่คน แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน
• อาจจะเป็น 1 ในผู้ถือหุ้น หรือจ้างมาบริหารได้
• ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือน
• แบ่งหน้าที่การเป็นหัวขับเคลื่อนบริษัทให้ชัดเจน อาจมี CEO CFO CMO ฯลฯ ร่วมด้วย
- คนทำงาน
• ต้องแบ่งให้ชัดเจนสร้าง Working cap เพื่อรองรับโหลดงานให้แต่ละตำแหน่ง
• ระบุเลยว่าตำแหน่งไหนต้องreport เรื่องอะไรให้กับใคร

บทสรุป 6 ข้อคิด ที่สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว
1. จงทำให้มากกว่าแผนที่วางไว้และสามารถปรับเปลี่ยนไปตามโอกาส
2. ทดลองไอเดียให้เร็วที่สุด
3. เข้าใจลูกค้าตนเองให้เร็วที่สุด
4. ตาต้องอยู่กับอนาคต
5. กระแสเงินสดคือสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอด
6. อย่าทะเลาะกันเพราะเรื่องหุ้นส่วน
SDGs
4 9
Share
Share Facbook Share Twitter
 

e-Profile RMUTL

เว็บไซต์สำหรับแสดงโปรไฟล์ ผลงาน และข้อมูลวิชาการของบุคลากร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา