Activity

เข้าร่วมประชุมการส่งข้อมูลตัวชี้วัดและรายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (RMUTL SDGs)

คณะกรรมการขับคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รายงานผลการจัดทำรายงานและการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อตอบตัวชี้วัดตามเป้าหมายความพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อจัดอันดับในเวที THE Impact Ranking 2025


ดร.ปวียา รักนิ่ม ผู้ช่วยอธิการบดี ประธานคณะกรรมการขับคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ฝ่ายจัดทำรายงานและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ พร้อมคณะกรรมการฯ ได้รายงานผลการจัดทำรายงานและการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อตอบตัวชี้วัดตามเป้าหมายความพัฒนาที่ยั่งยืน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (RMUTL SDGs) โดยมี รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดีฯ รศ.ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการสภา เป็นผู้รับรายงาน และเป็นสักขีพยานในการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการจัดอันดับในเวที THE Impact Ranking 2025 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมกาสะลอง มทร.ล้านนา ทั้งนี้ รศ.ดร.อุเทน คำน่าน ได้กล่าวขอบคุณคณะกรรมการฯ ในการจัดทำข้อมูล พร้อมสนับสนุนส่งเสริมให้ดำเนินโครงการและกิจกรรมที่และช่วยพัฒนาและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยฯ ไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) โดยเน้นเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยฯ มีโครงการหรือกิจกรรมที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องและมีความโดดเด่นด้านงานวิจัย และเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน สังคม เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (อังกฤษ: Sustainable Development Goals หรือย่อว่า SDGs) เป็นประมวลเป้าหมายของโลก 17 ข้อที่เชื่อมโยงกัน ออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่เป็น "พิมพ์เขียวเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง เพื่อประชาชนและโลก ณ บัดนี้และต่อไปในอนาคต" เป้าหมาย 17 ข้อ ประกอบด้วย: (1) ขจัดความยากจน (2) ขจัดความอดอยาก (3) สุขภาพและความเป็นอยู่ดี (4) การศึกษาคุณภาพ (5) ความเท่าเทียมทางเพศ (6) น้ำสะอาดและสุขาภิบาล (7) พลังงานสะอาดในราคาที่ซื้อได้ (8) อาชีพและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี (9) อุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน (10) ลดความเหลื่อมล้ำ (11) นครและชุมชนยั่งยืน (12) การบริโภคและการผลิตอย่างรับผิดชอบ (13) การปฏิบัติการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (14) การใช้ทรัพยากรในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน (15) การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน (16) สันติภาพ ความยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง และ (17) การร่วมมือกันเพื่อเป้าหมาย เป้าหมาย SDG ให้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงกันระหว่างแง่มุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจของการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการยึดความยั่งยืนเป็นศูนย์กลาง


ที่มา : https://www.rmutl.ac.th/news/27057

Share
Share Facbook Share Twitter
 

e-Profile RMUTL

เว็บไซต์สำหรับแสดงโปรไฟล์ ผลงาน และข้อมูลวิชาการของบุคลากร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา